ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ค้นหา

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
bulletฝึกกระจาย verbe แบบอาณาจักรกริยา (ฉบับพรีเวอร์ชั่น)
bulletPronoms sujet/สรรพนามประธาน
bulletArticles/คำนำหน้านาม
bulletNoms/นาม
bulletNoms pluriels/นามพหูพจน์
bulletAdjectifs/คุณศัพท์
bulletadj. interrogatifs: Quel, quelle ...
bulletAdverbes/กริยาวิเศษณ์
bulletNombres/จำนวน
bulletPrésent Groupe 1 (ER)
bulletPrésent Groupe 2 (IR)
bulletPrésent Groupe 3 (RE, OIR, IR)
bulletPassé composé 1er groupe
bulletPassé composé 2ème groupe
bulletPassé composé 3ème groupe
bulletPassé composé ( กลุ่มใช้ v. être)
bulletpassé simple/antérieur
bulletImparfait
bulletPassé récent
bulletPlus-que-parfait
bulletFutur simple
bulletFutur antérieur
bulletFutur proche
bulletImpératif
bulletConditionnel présent
bulletConditionnel passé
bulletSi (Condition)
bulletdiscours indirect
bulletGérondif
bulletSubjonctif
bullettout/toute
bulletการเปรียบเทียบ
bulletvoix passive
bulletCOD/กรรมตรง
bulletCOI/กรรมรอง
bulletVerbe pronominal
bulletpronoms toniques
bulletpronom EN
bulletpronom Y
bulletpronom LE neutre
bulletลำดับกรรมตรงกรรมรอง
bulletpronoms relatifs inva: qui, que, dont, ou
bulletpronoms relatifs va: lequel laquelle
bulletpronoms interrogatifs inva: Qu'est-ce qui...
bulletpronoms interrogatifs va: lequel?
bulletadj. possessifs: mon, ma/pronoms pos: le mien, la mienne
bulletadj démonstratifs: ce, cet/pronoms dem.:celui, celle
bulletคำเชื่อม เหตุ ผล แย้ง เป้า
bulletเว็บไซต์ไวยากรณ์ฝรั่งเศสอื่น ๆ
bulletรวมคำถามคำตอบน่าสนใจ
dot
dot
bulletโมเดลสัมภาษณ์ฝรั่ง
bulletแนะนำตัวภาษาฝรั่งเศส
bulletโมเดลจดหมายหาเพื่อนฉบับวัยรุ่น
bulletDELF/DALF/TCF
bulletโมเดลรายงานหน้าห้อง
bulletคำอวยพรปีใหม่ภาษาฝรั่งเศส
bulletเว็บไซต์แคว้นฝรั่งเศส
bulletเว็บไซต์ข้อมูลเมืองไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส
dot
dot
bulletสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับการท่องเที่ยวในฝรั่งเศส
bulletทฤษฎีความหมายกับการแปลกวีนิพนธ์
bulletpoésie française et la traduction en thaï
bulletCostume traditionnels thailandais
dot
dot
bulletการเขียนจดหมายสมัครงานและขอฝึกงานภาษาฝรั่งเศส
bulletการเขียนประวัติย่อภาษาฝรั่งเศส
bulletปริญญาบัตรและคณะภาษาฝรั่งเศส
dot
dot
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 1)
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 2)
bulletชื่อฝรั่งเท่ห์ ๆ
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 3)
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 4)
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 5) ตอนจบ
bulletคุยกับฝรั่ง (พบกันอีกครั้ง)
bulletคุยเรื่องอากาศ
bulletแนะนำเพื่อน
bulletชวนไปกินข้าว
bulletชวนไปเที่ยว
bulletบอกเวลาและที่นัดหมาย




เกาะรียูเนียน

รียูเนียนและมอริเชียส

ขุนเขา มหาสมุทรและขอบฟ้า ที่ 23.5 องศาใต้

 

บ่อยครั้งไปที่การทำงานพาเราไปสู่ดินแดนใหม่ ๆ วัฒนธรรม ความคิด การกินอยู่ที่แปลกและแตกต่างจากสิ่งที่เราคุ้นเคย เหมือนกับครั้งนี้ ที่ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าขึ้นเครื่องบินมายัง ลา เรอูนิยง (La REUNION) ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อรียูเนียน แถมยังได้ข้ามไปเกาะมอริเชียสเป็นโบนัสอีกด้วย

 

 

 

รียูเนียนมีสภาพเป็นเกาะกลางมหาสมุทรอินเดีย ระหว่างเกาะมอริเชียสและเกาะมาดากัสการ์ มีสถานะเป็นจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส มีเมืองเอกชื่อ แซ็งต์ เดอนีส์ (SAINT DENIS) รียูเนียนเป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟเมื่อประมาณ 3 ล้านปีที่แล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นภูเขาสูง มีพื้นที่ชายหาดบ้างเล็กน้อยบริเวณริมเกาะ และมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 800000 คน แบ่งเป็นคน เครออล หรือคนที่มีบรรพบุรุษเป็นยุโรป แต่เกิดและเติบโตที่นี่ คนผิวสีจากแอฟริกา คนอินเดีย คนยุโรปที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ เป็นต้น คนที่นี่พูดภาษาฝรั่งเศสและภาษาเครออลเป็นหลัก ซึ่งการออกเสียงจะคล้ายกับภาษาฝรั่งเศสมากบ้างน้อยบ้าง

 

เราเดินทางมาถึงเกาะรียูเนียนตอนกลางคืนและเข้าพักที่โรงแรมแบลพิแยร์ (BELLE PIERRE) ห้องของโรงแรมทุกห้องหันหน้าออกทะเล ทำให้เราได้เห็นพระอาทิตย์ยามเช้าโผล่พ้นขอบฟ้ามหาสมุทรอินเดียที่กว้างใหญ่จนเห็นแนวโค้งของขอบโลก อาหารเช้าในโรงแรมเป็นแบบตะวันตกเป็นหลัก แต่ก็ยังมีข้าวผัด ไส้กรอก ผลไม้สดและแห้งมากมายไว้ให้เรากินกันเบื่อ หรือถ้าใครชอบกินซีเรียลเป็นอาหารเช้า ก็มีทั้งเม็ดแมคคาเดเมีย พรุนแห้ง ลูกเกด และถั่วอื่น ๆ ไว้สำหรับผสมกินกับคอร์นเฟลก ถ้าใครชอบหวานนิดก็เติมน้ำผึ้ง หรือจะใส่แยมกล้วยก็ได้รสชาติหอมหวานไม่แพ้กัน

 

 

หลังจากก้มหน้าก้มตาทำงานจนเสร็จ ทางเจ้าบ้านก็จัดทริปให้พวกเราได้ออกไปสัมผัสเกาะรียูเนียนจริง ๆ วันรุ่งขึ้นเราจึงได้มีโอกาสเดินทางขึ้นเขาไปยังหมู่บ้านซิลาโอส (Cilaos) ที่ความสูง 1200 เมตร พร้อมกับเพื่อนชาวเครออลที่ชื่อฟรองซวส แต่กว่าจะฝ่าด่านโค้งหักศอกเกือบ 500 โค้งมาได้ เพื่อนร่วมงานบางคนก็เอาข้าวเช้ามาทิ้งเสียหลายรอบ ระหว่างทางมาซิลาโอส รถจะต้องขับผ่านหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมหาด เราจึงมีโอกาสลงไปดูท่าเรือที่มีเรือสำราญลำเล็กลำน้อยจอดอยู่มากมาย น่าเสียดายที่เราไม่มีเวลาพอที่จะไปพายเรือแคนูเล่นกับปลาโลมา เมื่อขับรถเลียบทะเลมาได้ครึ่งทาง คุณลุงคนขับรถวัยเกษียณก็หยุดรถให้เราได้ลงไปดู le souffleur หรือ จอมพ่นน้ำ ที่เกิดจากหินที่เป็นรูขนาดใหญ่ ด้านหนึ่งจมอยู่ในน้ำอีกด้านหนึ่งโผล่พ้นน้ำออกมา เมื่อคลื่นซัดเข้ามาก็จะดันน้ำให้พุ่งออกมาเป็นฝอย ยิ่งคลื่นแรงเท่าไหร่ ละอองน้ำก็จะพุ่งออกมาสูงเท่านั้น วันที่เราไปอากาศกำลังดี มีแสงแดดจัด เราจึงได้เห็นละอองน้ำทอรุ้งตัวน้อย ๆ ให้ดูหลายรอบ

 

หลังจากถ่ายรูปกันพอใจ เราก็ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังซิลาโอส คนที่จะขับรถขึ้นไปนั้น ต้องเป็นมืออาชีพจริง ๆ เพราะเส้นทางมีขนาดเล็กพอให้รถสวนกัน และมีโค้งหักศอกตลอดทาง คุณลุงคนขับรถเองก็ยังต้องหยุดพักเหนื่อยหลายหนตามหมู่บ้านริมเขา เราก็เลยได้ถ่ายรูปและซื้อของกินเล่นกันพอหอมปากหอมคอ แต่ก็ไม่กล้ากินมากนัก เพราะกลัวเมารถและจะต้องเอาไปทิ้งข้างหน้าให้เสียของ

 

 

 

 

ระหว่างที่อยู่ในรถ ก็ฟังคุณลุงเล่าเรื่องเกี่ยวกับเกาะรียูเนียนให้ฟัง คุณลุงบอกว่าที่เกาะนี้ ถึงแม้จะมีคนหลากหลายเชื้อชาติศาสนาอยู่ด้วยกัน แต่ก็ไม่มีการเหยียดผิว ทุกคนเท่าเทียมกัน อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข ไม่ว่าจะเป็นคนจากศาสนาคริสต์ อิสลาม ฮินดู และอื่น ๆ ซึ่งเราก็เห็นว่าจริง เพราะดูจากการพูดการจากันแล้ว ทุกคนที่นี้ให้เกียรติ สุภาพและเป็นมิตรอย่างที่สุด

เมื่อผ่านโบสถ์พระแม่มาเรีย คุณลุงเล่าว่าพระแม่มาเรียเคยแสดงปาฏิหาริย์ช่วยคนให้พ้นจากโรคอหิวาห์ เมื่อครั้งโรคร้ายระบาดหนักบนเกาะ คุณลุงบอกว่า ตอนนั้นคนตายมากมายและคนที่มีชีวิตอยู่เริ่มสิ้นหวัง จึงมีคนไปสวดอ้อนวอนให้พระแม่มารีช่วย หลังจากนั้นไม่กี่วันโรคอหิวาห์ก็อันตรธานหายไป ทำให้คนเชื่อว่าเป็นปาฏิหาริย์ของพระแม่มารี แต่คุณลุงแอบกระซิบว่า ถ้าไปอ่านประวัติศาสตร์ดี ๆ จะพบว่าในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ภูเขาไฟบนเกาะได้เกิดปะทุขึ้นและพ่นซัลเฟอร์ออกมา ซึ่งนั่นอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคอหิวาห์หายไปในที่สุด

 

เส้นทางสู่ซิลาโอสนั้น คดเคี้ยวไปมาอย่างไม่น่าเชื่อ บางทีคุณลุงก็ชี้ยอดเขาให้ดูว่าเราจะขึ้นไปถึงบนโน้นกัน ก็เล่นเอาเราหน้าซีดเพราะรู้ตัวว่ายังเหลือโค้งอีกนับร้อยที่ต้องฝ่าไปให้ได้ หลายครั้งที่รถต้องชะลอและหักพวงมาลัยตีโค้งจนเราต้องคว้าที่จับแน่น ๆ ด้วยว่ากลัวจะถูกเหวี่ยงลงมาจากที่นั่ง บางครั้งก็ต้องหยุดรอจังหวะเพราะรถสวนกันไม่ได้ รวมทั้งมีอุโมงค์รถเดินทางเดียว ทำให้คุณลุงต้องคอยบีบแตรส่งสัญญาณว่า เราเข้ามาแล้วนะ อย่าสวนเข้ามาล่ะ แต่ก็มีบ้างที่รถอีกฝั่งไม่ได้ยินเลยสวนเข้า ทีนี้ก็ต้องดูว่า ใครเข้ามาลึกกว่ากัน ฝ่ายที่เข้ามาทีหลังก็ต้องถอยรถออกไปโดยดี

 

เมื่อเกือบ 500 โค้งหฤโหดผ่านไป เราก็มาถึงซิลาโอสในที่สุด ซิลาโอสเป็นเมืองที่อยู่ใน 1 ใน 3 หุบเขาใหญ่แห่งรียูเนียน หุบเขาทั้งสามก็คือ มาฟัต (Mafate), ซาลาซี (Salazie) และซิลาโอส เมื่อมองจากท้องฟ้าจะเห็นหุบเขาทั้งสามเหมือนดอกจิกขนาดมหึมากลางเกาะรียูเนียน และมียอดเขาสูงสุด 3700 เมตร ชื่อ ปิตง เดอ แนจ (Piton de Neige) ที่กลางหุบเขาซิลาโอส มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อเดียวกัน ในหมู่บ้านมีโบสถ์สีขาวและหอระฆังสูงที่มีฉากหลังเป็นภูเขาสูงทะมึน ผู้คนที่นี่มีกรุ้ปเลือดที่แตกต่างจากที่อื่นจนต้องตั้งชื่อว่า กรุ้ปรียูเนียน เลยทีเดียว ใครที่แวะมาที่นี่ต้องได้ชิมอาหารจานเด็ดที่มีชื่อว่า กราแต็ง ชูชู (Gratin Chouchou) ซึ่งเป็นฟักแม้วอบกับเนยแข็งหอมกรุ่น คนยุโรปดูจะชื่นชอบเป็นพิเศษ ผิดกับคนไทยอย่างเราที่รู้สึกว่าจืดไปหน่อย ทำให้กินได้ไม่มากนัก แต่ที่พวกเราสนใจเป็นพิเศษก็คือกล้วยเชื่อมราดเหล้ารัมที่มาพร้อมกับไปลุกโชน ที่จริงเราก็เคยเห็นอะไรทำนองนี้มาก่อน แต่ที่แปลกตาก็คือการจุดไฟ เพราะที่นี่เขาจุดไฟในกาเล็ก ๆ ที่ใส่เหล้ารัม ก่อนที่จะราดลงบนกล้วย เราจึงได้เห็นเปลวไฟสีฟ้าไหลลงมาพร้อมกับเหล้ารัมแล้วลามเลียไปตามลูกกล้วยจนทั่ว ได้กล้วยเชื่อมที่ร้อนกำลังดี ผสมรสชาติน้ำเชื่อมหวานลิ้นและกลิ่นเหล้ารัมหอม ๆ ไปพร้อมกัน ขากลับเรารู้สึกว่าลงมาเร็วกว่าที่คิดและไม่ค่อยเมารถเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะเริ่มคุ้นเคยกับเส้นทาง ระหว่างทางเรายังได้แวะไปดู เลอ กุฟเฟรอะ (Le Gouffre) ซึ่งเป็นช่องหินแคบ ๆ ยาวประมาณ 2-3 เมตร ที่เมื่อน้ำทะเลซัดเข้ามาก็จะกระแทกไปมาจนเกิดเป็นฟองละเอียดฟูฟ่องเหมือนกับครีมชองติยี่ขาวนวลบนก้อนไอศกรีมขรุขระสีน้ำตาลเข้ม

 

เรากลับมาถึงแซ็งต์ เดอนีส์ ตอนประมาณ 1 ทุ่ม พอพักหายเหนื่อยก็เดินไปสมทบกับเพื่อน ๆ ชาวเครออล ที่บ้านฟรองซวส ก่อนที่จะออกไปซื้อของมาทำกับข้าวไทย พวกเราจึงได้สวมบทบาทอาจารย์ยิ่งศักดิ์กับคุณหมึกแดงอย่างเมามัน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยแม้จะแตะกระทะตะหลิวอย่างจริงจังมาก่อนเลย แต่เราคนไทยจะเสียชื่อไม่ได้ เพราะอาหารไทยเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก ในที่สุด เราก็ได้ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ บะหมี่ผัดซีอิ้วและผัดผักรวมมิตร (อุตลุต) ออกมาให้ชาวเครออลได้กินกันอย่างเอร็ดอร่อยจนหมดทุกอย่าง เล่นเอาพวกเราภูมิใจกันน้ำตาแทบไหลพราก จากนั้นหน่วยทำลายเสบียงทั้งไทยและเครออลก็ย้ายฐานมาที่ห้องรับแขก เพื่อนชาวเครออลร้องเพลงและเต้นรำอย่างสนุกสนาน คนเครออลร้องเพลงเพราะทุกคน ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สมาชิกบางคนในครอบครัวฟรองซวสเคยออกอัลบั้มมาแล้วด้วย พวกเรานึกมุขอะไรไม่ออกก็เอารำวงมาตรฐานเข้าสู้ สอนให้คนเครออลฟ้อนเล็บกันจนเกือบเที่ยงคืน จึงแยกย้ายกันกลับที่พักอย่างสำราญใจ

 

เช้าวันรุ่งขึ้น เรานั่งรถโรงแรมไปตลาดเช้า ที่แซ็ง เดอนีส์ มีตลาดอยู่สองแห่งคือ ตลาดเล็ก (le Petit Marché) และ ตลาดใหญ่ (le Grand Marché) แต่ว่าตลาดเล็กนั้น ใหญ่กว่าตลาดใหญ่เสียอีก เพราะว่าตลาดใหญ่นั้นเกิดขึ้นก่อนตั้งแต่คนยังมีจำนวนน้อย แล้วตัวเมืองขยายลงมาทางทะเลมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเกิดตลาดเล็กใกล้ ๆ กับชายทะเล ตลาดเล็กเติบโตตามจำนวนคนที่เพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งใหญ่กว่าตลาดใหญ่ในที่สุด สินค้าที่ขายในตลาดเล็กนั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือของสดจำพวกผัก ผลไม้ เนื้อสดและดอกไม้ และสินค้าหัตถกรรมจักสานเช่น กระเป๋า กระด้ง กระบุงและของแต่งบ้านที่ทำจากเชือกปอหลากสีสัน พอเดินชมตลาดเล็กจนทั่ว เราก็ออกเดินไปตามถนนคนเดินมุ่งสู่ตลาดใหญ่ ตลอดข้างทางมีร้านขายเสื้อผ้าและของตกแต่งบ้านมากมาย เมื่อได้สักครึ่งทาง เราก็แวะพักดื่มน้ำกันเพื่อจะได้เข้าห้องน้ำ เราเลือกร้านน้ำปั่นเล็ก ๆ ตรงมุมถนน เมื่อสั่งน้ำเสร็จก็ขอไปเข้าห้องน้ำ คนขายก็ใจดีหยิบกระดาษทิชชู่ส่งให้หลายแผ่นแถมพาไปจนถึงหน้าห้องน้ำ พอเข้าห้องน้ำเสร็จก็แอบไปดูครัว มีพ่อครัวคนหนึ่งกำลังผัดผักเอาไว้ใส่เป็นไส้แฮมเบอร์เกอร์ เขาคงเห็นว่าเราสนใจ จึงรีบตักผักที่ผัดเสร็จแล้วใส่ถ้วยเล็ก ๆ ให้เราชิม พอเราบอกว่าอร่อยมาก ก็บอกสูตรและวิธีทำเสียละเอียดชนิดไม่กลัวว่าเราจะไปเปิดร้านแข่งเสียเลย จากนั้นเราก็ออกเดินต่อจนไปถึงตลาดใหญ่ ทีแรกเราจินตนาการตลาดใหญ่ไว้เสียใหญ่โต แต่พอมาเห็นของจริงก็ผิดหวัง เพราะไม่ค่อยมีอะไรมาก นอกจากร้านขายผ้า เครื่องจักสานและของที่ระลึกไม่กี่สิบร้านเท่านั้น ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็ดูจนทั่ว พวกเราจึงกลับโรงแรมเพื่อเก็บกระเป๋าเดินทางไปเกาะมอริเชียสในวันรุ่งขึ้น

 

 

 

บ่ายวันรุ่งขึ้นเราเดินทางถึงเกาะมอริเชียส ซึ่งอยู่ห่างจากรียูเนียนไป 150 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยเครื่องบินเพียง 30 นาทีเท่านั้น เกาะมอริเชียสมีสถานะเป็นประเทศหนึ่ง เราจึงต้องขอวีซ่าจากกงสุลกิตติมศักดิ์ที่รียูเนียน เพื่อเดินทางเข้ามอริเชียส เรามีเวลาที่เกาะมอริเชียสเพียง 2 วัน และต้องทำงานเป็นหลัก จึงไม่มีเวลาไปเที่ยวชมความสวยงามของธรรมชาติ แต่เราก็ยังมีโอกาสไปเดินตลาดพื้นเมือง ซึ่งแตกต่างจากที่รียูเนียนอย่างสิ้นเชิง ตลาดที่นี่เหมือนตลาดสดบ้านเราไม่มีผิด มีการตะโกนเรียกลูกค้ากันอึกทึกครึกโครม สินค้าวางขายกันกลาดเกลื่อนทั้งบนโต้ะและบนถนนแบบแบกับดิน แถมยังต่อราคาได้อีก ผู้คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายอินเดีย มีชาวจีนปะปนให้เห็นบ้าง แต่ที่น่าแปลกก็คือคนที่นี่พูดภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษปนกัน ขนาดป้ายหน้าร้านยังเขียนอังกฤษบรรทัดหนึ่งและฝรั่งเศสอีกบรรทัดหนึ่ง เวลาพูดก็จะปน ๆ กันขึ้นอยู่กับว่านึกภาษาไหนออกก่อนกัน เป็นที่สนุกสนานสำหรับคนที่พูดฝรั่งเศสและอังกฤษอย่างเรามาก ๆ เพราะพูดอะไรออกไปคนก็เข้าใจหมด ด้วยความที่ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายอินเดีย อาหารการกินที่นี่จึงเป็นแบบอินเดีย มีแกงกับโรตีให้กินไม่เว้นวัน แต่แกงทั้งหลายอาจไม่ถูกปากคนไทยมากนัก เพราะรสชาติค่อนข้างจืดและมีกลิ่นเครื่องแกงค่อนข้างแรง ยกเว้นแป้งโรตีที่เหนียวนุ่มเมื่อเคี้ยวไปนาน ๆ จะออกหวานนิด ๆ เป็นที่ชื่นชอบของพวกเรา ดังนั้นถ้ากินอะไรไม่ได้เลย ก็ยังมีแป้งโรตีแผ่นใหญ่ ๆ ให้กินกันหิวได้ดีนัก ตกเย็นเราได้ไปเดินเที่ยวสวนพฤกษศาสตร์ สวนนี้จัดแต่งไว้เป็นอย่างดี มีต้นไม้ใหญ่ ๆ รูปทรงสวยงามมากมาย มีสวนสัตว์เล็ก ๆ ให้เราได้เดินไปดูกวางและเต่ายักษ์ที่นอนเรียงรายเหมือนกับก้อนหินก้อนใหญ่ ๆ ดู ๆ แล้วแต่ละก้อนน่าจะหนักเฉียดร้อยกิโลอยู่เหมือนกัน หลังจากได้เที่ยวพอหอมปากหอมคอ เราก็เตรียมตัวแพ็กกระเป๋าอีกรอบเพื่อเดินทางกลับมาที่รียูเนียนและขึ้นเครื่องแอร์ออสทราลกลับมายังเมืองไทย เป็นการปิดฉากการเดินทางสู่หมู่เกาะเหนือเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นที่ 23.5 องศาใต้อย่างสมบูรณ์




ทำงานไป เที่ยวไป ได้ความรู้/Travailler voyager et apprendre

ไปล่ามที่ดูไบ
AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เกาะมอริเชียส
จีไอ ที่ร้อยเอ็ด article
งานสัมมนาสิ่งบ่งชี้ที่ปาร์คนายเลิศ
ล่ามที่กรมประมง
สัมมนาสิ่งบ่งชี้ฯที่เชียงใหม่ article
ตะลุยเมืองจีน เหยียบตึกสูงสุดในโลก
ประชุมสิ่งบ่งชี้กับการพัฒนาพื้นที่ชนบท
บรรยายเรื่องสิ่งบ่งชี้ฯที่โฮจิมินห์
Viv asia งานปศุสัตว์เอเชีย
ทำงานกับ ลอรีอัล article
สัมมนาเชิงวิชาการ เรื่องสิ่งบ่งชี้ฯกับการท่องเที่ยว
Eguisheim เมืองแห่งหน้าต่างแสนสวย
กล้วยไม้จากเขาใหญ่
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาคนไทยที่ควรรักษา article
มีดไทยไปนอก article
สถานีรถไฟสตราสบูร์ก Before and after
อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ ที่ฝรั่งเศส
STAR article
ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส
ความสุขของกะทิ เวอร์ชั่น ฝรั่งเศส article
Headline
ตามอาจารย์ต้นไปทำงานที่ฝรั่งเศสกัน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.