ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ค้นหา

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
bulletฝึกกระจาย verbe แบบอาณาจักรกริยา (ฉบับพรีเวอร์ชั่น)
bulletPronoms sujet/สรรพนามประธาน
bulletArticles/คำนำหน้านาม
bulletNoms/นาม
bulletNoms pluriels/นามพหูพจน์
bulletAdjectifs/คุณศัพท์
bulletadj. interrogatifs: Quel, quelle ...
bulletAdverbes/กริยาวิเศษณ์
bulletNombres/จำนวน
bulletPrésent Groupe 1 (ER)
bulletPrésent Groupe 2 (IR)
bulletPrésent Groupe 3 (RE, OIR, IR)
bulletPassé composé 1er groupe
bulletPassé composé 2ème groupe
bulletPassé composé 3ème groupe
bulletPassé composé ( กลุ่มใช้ v. être)
bulletpassé simple/antérieur
bulletImparfait
bulletPassé récent
bulletPlus-que-parfait
bulletFutur simple
bulletFutur antérieur
bulletFutur proche
bulletImpératif
bulletConditionnel présent
bulletConditionnel passé
bulletSi (Condition)
bulletdiscours indirect
bulletGérondif
bulletSubjonctif
bullettout/toute
bulletการเปรียบเทียบ
bulletvoix passive
bulletCOD/กรรมตรง
bulletCOI/กรรมรอง
bulletVerbe pronominal
bulletpronoms toniques
bulletpronom EN
bulletpronom Y
bulletpronom LE neutre
bulletลำดับกรรมตรงกรรมรอง
bulletpronoms relatifs inva: qui, que, dont, ou
bulletpronoms relatifs va: lequel laquelle
bulletpronoms interrogatifs inva: Qu'est-ce qui...
bulletpronoms interrogatifs va: lequel?
bulletadj. possessifs: mon, ma/pronoms pos: le mien, la mienne
bulletadj démonstratifs: ce, cet/pronoms dem.:celui, celle
bulletคำเชื่อม เหตุ ผล แย้ง เป้า
bulletเว็บไซต์ไวยากรณ์ฝรั่งเศสอื่น ๆ
bulletรวมคำถามคำตอบน่าสนใจ
dot
dot
bulletโมเดลสัมภาษณ์ฝรั่ง
bulletแนะนำตัวภาษาฝรั่งเศส
bulletโมเดลจดหมายหาเพื่อนฉบับวัยรุ่น
bulletDELF/DALF/TCF
bulletโมเดลรายงานหน้าห้อง
bulletคำอวยพรปีใหม่ภาษาฝรั่งเศส
bulletเว็บไซต์แคว้นฝรั่งเศส
bulletเว็บไซต์ข้อมูลเมืองไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส
dot
dot
bulletสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับการท่องเที่ยวในฝรั่งเศส
bulletทฤษฎีความหมายกับการแปลกวีนิพนธ์
bulletpoésie française et la traduction en thaï
bulletCostume traditionnels thailandais
dot
dot
bulletการเขียนจดหมายสมัครงานและขอฝึกงานภาษาฝรั่งเศส
bulletการเขียนประวัติย่อภาษาฝรั่งเศส
bulletปริญญาบัตรและคณะภาษาฝรั่งเศส
dot
dot
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 1)
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 2)
bulletชื่อฝรั่งเท่ห์ ๆ
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 3)
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 4)
bulletคุยกับฝรั่ง (แนะนำตัว 5) ตอนจบ
bulletคุยกับฝรั่ง (พบกันอีกครั้ง)
bulletคุยเรื่องอากาศ
bulletแนะนำเพื่อน
bulletชวนไปกินข้าว
bulletชวนไปเที่ยว
bulletบอกเวลาและที่นัดหมาย




ทฤษฎีความหมายกับการแปลกวีนิพนธ์

ทฤษฎีความหมายกับการแปลวรรณกรรมประเภทกวีนิพนธ์จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย

 

อภิชาต เพิ่มชวลิต

อาจารย์พิเศษวิชาการแปล

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

 

Theory of Meaning: application to French-Thai poetry translation

 

This article deals with poetry translation from French to Thai in the use of the Theory of Meaning. According to the theory, translation is possible in every language and every kind of speech as long as translation process is done at the meaning level and not at the language level. The Theory of Meaning recommends three main processes of translation which are understanding, deverbalization and expression. The differences between two main speeches, which are informative speech and aesthetic speech, are detailed as well as those between the poetry itself and the other sub-type of aesthetic speech. A translated version of French poem, Victor HUGO’s Demain, dès l’aube…, has been selected to demonstrate how this specific theory is applied in translating process step by step. Guiding criteria on the choices of Thai versification and the conclusion are given at the ending part of this article.

 

 

ทฤษฎีการแปลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบันคือ ทฤษฏีความหมาย หรือ Théorie du sens ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า การแปลเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทุกภาษา ตราบเท่าที่กระบวนการแปลเน้นไปที่ “ความหมาย” หรือ “สาร” ที่ต้องการจะสื่อ ไม่ใช่ “ภาษา” หรือ “ยึดติดอยู่กับคำหรือการถ่ายภาพคำในต้นฉบับ” (Fortunato Israël.1990: 43) เพราะคำหรือภาษาในต้นฉบับมีหน้าที่เป็นเพียง “พาหนะ” ของ “สาร” เท่านั้น ตามทฤษฎีความหมาย กระบวนการแปลที่จะสัมฤทธิผลนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจและการถ่ายทอด ไม่ได้มุ่งเน้นการเทียบเคียงสัญลักษณ์ทางภาษา โดยจะต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงความตั้งใจของผู้เขียน ก่อนที่จะถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร ด้วยภาษาปลายทางที่เป็นธรรมชาติและถูกต้องตามแบบแผนของภาษานั้น ๆ โดยไม่มีการตัดทอนหรือแต่งเติมและทำให้ “สาร” ที่ต้องการจะสื่อนั้นผิดเพี้ยนไป จึงจะทำให้ “ผู้อ่านของเราเข้าใจสิ่งเดียวกันกับเจ้าของภาษาที่อ่านต้นฉบับ สามารถรับรู้ถึงลีลาการเสนอในแบบเดียวกัน และได้รับผลกระทบที่เท่าเทียมกันได้” (นพพร ประชากุล.  2541: 10)

 

การแปลในมุมมองของทฤษฎีความหมายนั้น เป็น “ปฏิบัติการถ่ายทอดความหมายซึ่งยึดเอาตัวสารเป็นหลัก โดยนำเอารายละเอียดของเนื้อหา ลีลาการเขียนข้อความและรสชาติด้านอารมณ์ความรู้สึกที่จับได้ทั้งหมดจากต้นฉบับมาถ่ายทอดอย่างเที่ยงตรงครบถ้วนในภาษาปลายทางด้วยแบบแผนที่เป็นธรรมชาติ ทั้งนี้ ถ้อยคำและโครงสร้างประโยคที่เป็นผลปรากฏในบทแปล จะเทียบได้ตรงหรือต่างกับภาษาต้นทางมากน้อยเพียงใดก็มิใช่ประเด็นอีกต่อไป...” (นพพร ประชากุล. 2541: 10) หากจะเทียบการแปลให้เห็นภาพง่าย ๆ เราสามารถเปรียบได้กับเครื่องดื่มอัดลมกระป๋องหรือ เครื่องดื่มที่รู้จักกันเป็นสากลอื่น ๆ ที่แม้ว่าภาษาที่เขียนบนบรรจุภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามประเทศที่ขายก็ตาม แต่ก็มีรสชาติเหมือนกันทั่วโลก การแปลก็เหมือนการถ่ายน้ำอัดลมหรือเทียบได้กับ “สาร” จากกระป๋อง “ภาษา” หนึ่งไปยังกระป๋องอีก “ภาษา” หนึ่ง หากแปลได้ดี ปริมาตรน้ำและรสชาติไม่ว่าจะอยู่ในกระป๋องของชาติใดก็จะเหมือนกัน หากรสชาติไม่เหมือนเดิม ก็แสดงว่ามีการแต่งเติม “สาร” อื่นที่นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ดั้งเดิมลงไป หากปริมาตรมีมากกว่าเดิม ก็แสดงว่ามี “สารแปลกปลอม” หากน้อยกว่าเดิมก็แสดงว่า “ขาดสาร” หรือถ่ายทอด “สาร” มาไม่ครบนั่นเอง

 

ดาวน์โหลดฉบับเต็ม ฉบับตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 29 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 หน้า 19

theorie du sens et traduction poeme.pdf (1.72 MB)







Copyright © 2010 All Rights Reserved.