ReadyPlanet.com


อาจารย์ค้นคะ รบกวนช่วยแปลบทความโดยสรุปทีค่ะ ลองแปลด้วยตัวเองแล้วไม่เข้าใจ แปลไม่ถูกค่ะ


รบกวน อ.ต้น ช่วยแปลบทความฝรั่งเศสนี้เป็นภาษาไทยโดยสรุปนะคะ เพราะว่าลองแปลแล้ว แล้วมันยังไม่ค่อยเข้าใจดีเท่าไรค่ะ คือจะอ่านบทความนี้เพื่อเอาไปสอบด้วยค่ะ ขอบคุณ อาจารย์มากๆค่ะ

 

 En 59 avant Jésus-Christ, Jules César a envahi la Gaule et le latin populaire est utilisé.Mais avant, la Gaule était peuplée de Grecs au sud (depuis le VIIe siècle avant JC) et de tribus de Celtes au nord (depuis le Ier siècle avant JC), qui parlaient des langues celtiques comme le breton aujourd"hui. Il y avait les Celtes des Iles Britanniques qui se sont installés en Bretagne et les Celtes Gaulois venus par la Bourgogne. les romains n"ont pas imposé leur langue aux Celtes. Le français est un mélange de toutes ces langues. la population celte nous a laissé peu de mots.

 Mais ensuite, nous avons mélangé le latin et le celte avec des langues germaniques. D"abord au IVe siècle après JC, les Francs arrivent du nordest, puis au IXe siècle, les Vikings (les Normands) s"installent en Normandie.

 Au fil du temps le pays a été divisé en deux zones : au Nord les langues germaniques dominaient et aujourd"hui on parle de la langue " d"Oil ", au sud, le latin dominait et aujourd"hui on parle de la langue " d"Oc ". Oil et Oc signifient " oui ".

 Officiellement, la signature des Serments de Strasbourg par les fils de Charlemagne en 842 après JC, nous donne une date pour l"apparition du français. Ce texte n"est ni du latin, ni du germain, ni du celte c"est un mélange, donc c"est la naissance du français actuel. Pour conclure, le français actuel est le résultat de la longue histoire des peuples qui ont vécu dans cette région du monde.



Post by Vive la France (crescendo_fah-at-hotmail-dot-com) :: Date 2010-03-30 18:53:48 IP : 118.174.47.150


[1] 2 Next >>

Opinion No. 1 (3208262)

เอาล่ะครับ

ผมแปลอย่างไม่รู้ศัพท์นะ - - (อยากลอง แต่ไม่ค่อยได้หาบทความแปล อิอิ หาไม่เจอ บางอันมันยากไป)

บรรทัดแรก ก็ พอจะ ไปอย่างรู้ศัพท์บางคำ แต่ก็ไม่รู้ถูกไหม

En 59 avant Jésus-Christ  อันนี้จะหมายถึง 59 ปี ก่อนพระเยซู เกิด ไหม หว่า ไม่มีหลักการนะ ตามยถากรรม แต่คิดเอา

ขอ ถาม อ.ด้วยเลยดีก่า mais avant มันแปลว่า แต่ก่อน ป่ะ ฮ่าๆ ตามตัวเลย(คิดเอาเอง)

รู้พวก ศัพท์ทิศ อ่า อิอิ กะพวก temps 

แล้วตัว หนาๆ คือรายง่า * * ถ้า เน้นเพราะไม่รู้ความหมาย บลิว พอจะเดาได้บางตัว ฮ่าๆ

อันแรกน่าจะชื่อ คน......

ส่วนอันที่ 2 celtiques มันเป้นชื่อ ภาษาหนึ่งไหมอ่า รู้สึกว่าเคยได้ยิน คุ้นๆในหู

ที่เหลือก็ไปไม่ถูกและ

รู้แต่พวกทิศ nord sud est ouest (อันสุดท้ายจำไม่ได้ อิอิ)

รอฟังคำแปล อ. ดีก่า

ปล. อ.ช่วยอธิบายศัพท์ ให้รุ่นหลังๆที่มาอ่านฟังด้วยนะครับ อยากเจอ พวกศัพท์แปลก ๆ

มันติดหู ติดตา ดี อิอิ  เจอทีหลังละมันจะจำได้ * *

By บลิว Date 2010-03-31 00:56:42 IP : 118.173.2.145


Opinion No. 2 (3208287)

น่าจะลองสรุปความมาให้อาจารย์อ่านก่อนด้วยนะครับ จะได้รู้ว่าตรงไหนตีความผิด และผิดเพราะอะไร ศัพท์ที่ใช้ในบทความนี้ไม่ใช่ศัพท์ยากนะครับ เพราะเป็นบทความสำหรับเด็กอ่านเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดภาษาฝรั่งเศสครับ ถ้าหาศัพท์สำคัญได้ทุกตัวก็จะเข้าใจที่มาที่ไปของภาษาฝรั่งเศส ว่าเกิดอย่างไร ผสมกับภาษาไหน แล้วใครเป็นคนนำเข้ามาครับ อาจารย์จะให้แนวทางไว้ก็แล้วกัน

En 59 avant Jésus-Christ(ปีที่ 59 ก่อนคริสตศักราช), Jules César a envahi (บุกรุก) la Gaule et le latin populaire (ภาษาละตินท้องถิ่นดั้งเดิม ถ้าจำไม่ผิดเขาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Latin vulgaire แต่ไม่คอนเฟิร์ม ใครรู้บอกกันหน่อย)  est utilisé.Mais avant, la Gaule était peuplée (แผ่นดินลาโกลเต็มไปด้วยคนกรีกทางด้านใต้) de Grecs au sud (depuis le VIIe siècle avant JC) et de tribus de Celtes au nord (และชนเผ่าเซลติกทางด้านเหนือ) (depuis le Ier siècle avant JC), qui parlaient des langues celtiques comme le breton aujourd"hui (พูดภาษาเซลติกเหมือนภาษาเบรอตง). Il y avait les Celtes des Iles Britanniques (ชาวเซลติกจากเกาะอังกฤษ) qui se sont installés en Bretagne et les Celtes Gaulois venus par la Bourgogne (เบอร์กันดี). les romains n"ont pas imposé (บังคับ ยัดเยียด) leur langue aux Celtes. Le français est un mélange (ส่วนผสม) de toutes ces langues. la population celte nous a laissé peu de mots.

 Mais ensuite, nous avons mélangé le latin et le celte avec des langues germaniques (ภาษาตระกูลเยอรมัน). D"abord au IVe siècle après JC, les Francs arrivent du nordest (ตะวันออกเฉียงเหนือ), puis au IXe siècle, les Vikings (les Normands) s"installent (ตั้งหลักแหล่ง) en Normandie.

 Au fil du temps (เวลาผ่านไป) le pays a été divisé (แบ่ง) en deux zones : au Nord les langues germaniques dominaient (ภาษาเยอรมันครองพื้นที่) et aujourd"hui on parle de la langue " d"Oil " (เรียกว่า ลองก์เดอย), au sud, le latin dominait et aujourd"hui on parle de la langue " d"Oc ".(ลองก์ด็อก) Oil et Oc signifient " oui ".

 Officiellement, la signature des Serments de Strasbourg (น่าจะเป็นสนธิสัญญาหรือเอกสารสำคัญอะไรสักอย่าง ลองหาดูนะครับ) par les fils de Charlemagne en 842 après JC (842 ปีหลังคริสตศักราช), nous donne une date pour l"apparition du français (เป็นหลักฐานทางการที่ชี้ให้เห็นการปรากฎของภาษาฝรั่งเศส). Ce texte n"est ni du latin, ni du germain, ni du celte c"est un mélange (เป็นส่วนผสมของหลาย ๆ ภาษา), donc c"est la naissance (การกำเนิด) du français actuel. Pour conclure, le français actuel est le résultat (ผลลัพธ์) de la longue histoire des peuples qui ont vécu (ใช้ชีวิต) dans cette région du monde.

By อาจารย์ต้น Date 2010-03-31 09:25:31 IP : 124.120.188.109


Opinion No. 3 (3208459)

@บลิว ไม่เป็นไรค่ะด้วยความยินดี อิอิ เราก้อฝึกๆแปลบทความอยุ่เหมือนกันค่ะ แต่เราก้อมะค่อยเก่ง T_T
@อาจารย์ต้น ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ตอนแรกแปลเองก้อแปลแล้วมันงงๆอ่ะค่ะ แอบมาบอก อาจารย์อีกนิดว่า วิชานี้เป็นวิชา Phonetique อ่ะค่ะ เค้าเลยให้ศึกษา :)

By Vive la France Date 2010-03-31 19:51:19 IP : 118.174.1.20


Opinion No. 4 (3208479)
อ้อ ดีเหมือนกัน วิชาโฟเนติกอาจารย์ต้นทอปตลอด ขาดอีก 2-3 คะแนนก็เต็ม เวลาทำ transcription นี่สนุกมาก ๆ ฝึกเข้าไว้ครับ มันจะเป็นพื้นฐานให้เราเรียนภาษาอื่น ๆ ได้ดีด้วยครับ อยากให้นักเรียนไทยได้เรียนวิชานี้ตั้งแต่มอปลายจริง ๆ เฮ้อ ได้แต่ฝัน
By อาจารย์ต้น Date 2010-03-31 21:30:17 IP : 124.120.184.234


Opinion No. 5 (3208514)

transcription นี่สุดๆค่ะ (ยากสำหรับดิฉัน) :D  อยากทราบอีกอย่างค่ะว่า บนเว็บพอจะมีเอกสารหรืออะไรที่มีตัวอักษร โฟเนติค ที่เอาไว้สำหรับ transcription แล้วเทียบกะเสียงต่างๆบ้างคะ

By Vive la France Date 2010-03-31 23:20:51 IP : 118.174.1.20


Opinion No. 6 (3208549)
เมื่อก่อนอาจารย์ต้นลงการออกเสียงภาษาฝรั่งเศสไว้ แต่มีปัญหาตัวอักษรโฟเนติกที่เคลื่อนไปมาเพราะฟอนต์ในคอมไม่เท่ากัน ก็เลยเอาออกไปแก้ แต่ก็ไม่เสร็จเสียทีเพราะงานเต็มหัวอยู่ แต่ส่วนใหญ่บนเว็บอื่น ๆ ก็จะมีให้นะครับ ดูในวิกิพีเดียก็ได้ แต่การทำ transcription ในภาษาฝรั่งเศสนั้นไม่ค่อยยากหรอกครับ ระวังเวลามี liaison หรือ enchainement ก็พอ
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-01 09:02:58 IP : 124.120.192.37


Opinion No. 7 (3208681)
ไม่เข้าใจไปตามงาน *-*
By บลิว Date 2010-04-01 19:53:48 IP : 118.173.7.219


Opinion No. 8 (3208705)
จำไว้นะบลิว ถ้าอยากพูดภาษาอื่น ๆ ได้ดีทั่วโลก ต้องเรียนโฟเนติก
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-01 22:16:54 IP : 124.122.187.96


Opinion No. 9 (3208718)

มันคืออารายง่า

ใช่การออกเสียงหรือเปล่าครับ

เคยได้ยินมา

แต่เค้าพูดกัน โฟเนติกๆ

บลิวเลยตีความไปเองว่าน่าจะเป็นการออกเสียง

Phone-tique

เพราะมีคำว่า Phone เลยคิดไปเอง ฮ่าๆ

เหมือน téléphone ใช้พูดกัน ก็เลยคิดเอา ว่ามันน่าจะเป็นการออกเสียง

ผิดถูกยังไง บอกด้วย ครับ เอิ้กๆ

By บลิว Date 2010-04-01 23:15:57 IP : 118.173.7.219


Opinion No. 10 (3208749)
ลองถามพี่เค้าดูสิว่าโฟเนติกคืออะไร แล้วเรียนไปทำไม สำหรับอาจารย์แล้ว โฟเนติกเป็นวิชาที่คนเรียนภาษาทุกภาษาต้องรู้จัก มันคืออาวุธสำหรับการออกเสียงทุกภาษา
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-02 09:23:34 IP : 124.120.183.127


Opinion No. 11 (3208783)

ในความเข้าใจของผิด Phonetique ก้อคือวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการออกเสียงของภาษานั้นๆอ่ะค่ะ ศึกษาการออกเสียงของคำว่าออกเสียงยังไงให้ถูกต้อง และก้อมีเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอวัยวะออกเสียงกะการออกเสียงอ่ะ มีตัวอักษรพิเศษเอาไว้ใช้การอ่านออกเสียง เหมือนเช่น
คำว่า moi [mwa]       << ตัวข้างในวงเล็บนี่คือตัวอักษรโฟเนติคเพื่อการอ่านออกเสียงค่ะ

ลองสอนน้องอิอิ อ.ต้นคะ ไม่ทราบว่า หนูเข้าใจถูกป่าวคะ  กัวสอนให้น้องผิดจัง

By Vive la France Date 2010-04-02 13:37:43 IP : 118.174.26.115


Opinion No. 12 (3208784)

ว้ากกกก เขียนผิดค่ะ ขอโทดค่ะเปลี่ยนเป็น    (ในความเข้าใจของเรา) นะคะ คำขึ้นต้นอ่า

By Vive la France Date 2010-04-02 13:40:33 IP : 118.174.26.115


Opinion No. 13 (3208790)
ดีแล้วครับ ใช้ได้เลย การสอนคนคือการทบทวนความรู้ครับ ถ้าเราสอนคนอื่นได้เมื่อไหร่ นั่นแสดงว่าเราเข้าใจ ถ้ายังสอนไม่ได้ ก็แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจครับ วิชานี้จะทำให้เราอ่านออกเสียงภาษาอื่น ๆ ได้ทั่วโลก ตราบเท่าที่มีการถ่ายเสียงเป็นอักษรโฟเนติกครับ แต่ส่วนใหญ่คนจะไม่รู้จักระบบ ทำให้อ่านออกเสียงภาษาอื่นไม่ได้ วิชานี้จึงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับคนที่อยากเรียนหลาย ๆ ภาษาครับ
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-02 14:15:33 IP : 124.120.192.216


Opinion No. 14 (3208831)

ดีใจค่ะ ไม่ได้สอนผิด อิอิ น้องเค้าอยู่ ม ปลายเหรอคะ ชั้นอะไรเหรอคะ ตอนนี้เราก้อรอผลสอบ เข้ามหาลัยของรุ่นน้องอยู่ (เรียกว่ารอไปพร้อมๆก๊ะรุ่นน้อง แอ๊บเด็กไปด้วยค่า - -") อยากรุว่ารุ่นน้องจะมาเป็นรุ่นน้องของตัวเอง บ้างมั้ยเอ่ย แฮ่ๆ ได้ยินข่าวแว้บๆว่า สอบเข้าแล้วคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่รึป่าวคะไม่แน่ใจ สงสารน้องๆอ่า เข้าใจเลย

By Vive la France Date 2010-04-02 16:24:16 IP : 118.174.26.115


Opinion No. 15 (3208835)
 les romains n"ont pas imposé (บังคับ ยัดเยียด) leur langue aux Celtes. Le français est un mélange (ส่วนผสม) de toutes ces langues. la population celte nous a laissé peu de mots.

อาจารย์คะ ถาม(อีกแล้ว) La population ในที่นี่แปลว่า กลุ่มคน หรือ ประชากร หรือป่าวคะ
 la population celte nous a laissé peu de mots.   ถ้าเราแปลคร่าวๆว่า ชาวเซลท์มีคำศัพท์ปรากฏใช้น้อย หรือป่าวคะ
By Vive la France Date 2010-04-02 16:36:48 IP : 118.174.26.115


Opinion No. 16 (3208889)

อาจารย์ว่าน่าจะแปลว่า ชนชาติ มากกว่าในกรณีนี้ ประโยคเขาหมายความว่า ชาวเซลติกนั้นทิ้งคำเอาไว้ให้พวกเรา (ชาวฝรั่งเศส) ใช้ไม่กี่คำ ก็คือมีภาษาเซลติกหลงเหลือปะปนในภาษาฝรั่งเศสไม่กี่คำ

Jean Markale, écrivain très controversé, écrit (La femme celte, p. 37) qu"environ 1 200 mots celtiques sont connus, dont 200 se sont transmis au français. Sont cités en tant qu"exemples : bief, if, bille, soc, ruche, claie, barque, chemin, lieue, lande, grève, roche, char, bec, jarret, briser, changer, border, petit et dru...

By อาจารย์ต้น Date 2010-04-02 21:17:07 IP : 124.120.188.50


Opinion No. 17 (3208915)

Je suis à l’école Suratpittaya m.4 . (ขึ้น ม.5 <เขียนไม่ถูก*-*>)

Maintenant en vacance  , je voudrais apprendre le français .

 

เป็นการ ทำที่ไม่รู้จะถูกไหม ฮ่าๆ เพราะ บลิวอยากลองใช้ conditionnel présent

 

ก็เลยเอามารวมในประโยคซะเลย ไม่รู้ว่าจะผิดหลักไหม เอื้อกๆ

 

น่าจะผิดเยอะ *-*

 

ปล.บรรทัดที่ 2 ไม่แน่ใจ ฮ่าๆ

By บลิว Date 2010-04-02 23:21:03 IP : 118.173.21.74


Opinion No. 18 (3208920)
ดี ๆ ตามนั้นแหละ ไม่ได้ถูกเป้ะเต็มร้อย แต่สื่อสารได้ ถือว่าสัมฤทธิผล อย่ากังวลว่าจะถูกหรือผิดมากเกิน เพราะจะกลายเป็นว่าไม่กล้าใช้ไปเลย ถ้าไม่ผิดร้ายแรง ก็ถือว่ารับได้
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-03 00:00:17 IP : 124.120.188.50


Opinion No. 19 (3209039)

แต่ใช้เยอะไป เพื่อนผม รำคาญ

ฮ่าๆ เพราะผมชอบใช้พูด ในกลุ่ม ที่คิดว่าเค้าฟังแล้วเข้าใจ

จนเค้าบอกว่า

ถ้า ภาษาฝรั่งเศสหลุดจากปากผม อีก มันเลิกคบ ฮ่าๆ

ก็เลยไม่ค่อยได้ใช้ภาษา

เพราะฝรั่งเศส เป็นวิชา ที่เพื่อนๆ ไม่ค่อยปลื้มกันซักเท่าไหร่

 

By บลิว Date 2010-04-03 20:51:45 IP : 180.180.69.41


Opinion No. 20 (3209042)

เดี๋ยวอีกหน่อย เราเอาภาษาฝรั่งเศสมาใช้หากินอย่างมีความสุขอย่างอาจารย์ต้น เขาก็จะปลื้มและเสียดายอย่างสุดซึ้ง ความแตกต่างทางวิชาความรู้ คือความได้เปรียบทางการงานอาชีพ อะไรตามที่คนอื่นเรียนไม่ได้ แล้วเราเรียนได้ จงภูมิใจ เพราะนั้นคือแต้มต่อในชีวิตการทำงานของเรา อาจารย์ชอบเหมือนกันเวลามีคนบ่นว่าภาษาฝรั่งเศสยากมาก ดีแล้วละ จะได้เรียนไม่รู้เรื่อง ขืนเรียนรู้เรื่องกันหมด ก็ออกมาแย่งงานอาจารย์ทำนะสิ ฮา

By อาจารย์ต้น Date 2010-04-03 21:03:02 IP : 124.120.189.140


Opinion No. 21 (3209052)

ฮ่าๆ

แข่งขันเป็นเวลา อิจฉาเป็นบางครั้ง นั่งฟังตอนเพื่อนบ่น ฉงนตอนอาจารย์สอน แอบนอนตอน อ.เผลอ(พอและ ไปไกลเรื่อยๆ)

 

By บลิว Date 2010-04-03 21:25:32 IP : 180.180.69.41


Opinion No. 22 (3209309)
เออ เอาเข้าไป
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-05 11:29:29 IP : 118.175.66.165


Opinion No. 23 (3209439)
เด็กฉลาด.............อ.ได้หน้า อิอิ
By บลิว Date 2010-04-05 20:52:58 IP : 118.173.24.167


Opinion No. 24 (3209636)
ลืมถาม อ.ต้น ครับ phonetique นี่ใช้เหมือนกันทุกภาษาเลยป่ะครับ เพราะบลิวเคยเห็นหลังหนังสืออังกฤษก็มีตัวเขียนแบบนี้อ่าครับ*-*
By บลิว Date 2010-04-06 18:24:15 IP : 118.173.27.202


Opinion No. 25 (3209650)
ใช่แล้ว แต่อาจจะมีแตกต่างกันบ้างเพราะเสียงในแต่ละภาษาไม่เหมื อนกัน แต่ถ้าภาษาไหนมีเสียงเหมือนกัน ก็จะใช้สัญลักษณ์ตัวเดียวกัน ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าใจและออกเสียงได้ ถ้าคนรู้ระบบโดยรวม เวลาเจอตัวอักษรโฟเนติกของภาษาใดภาษาหนึ่ง ก็จะอ่านออกเสียงได้ทันทีครับ
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-06 19:59:02 IP : 115.87.72.126


Opinion No. 26 (3209655)
แล้วจาหัดเรียนได้ที่ไหนอ่าครับ*-*
By บลิว Date 2010-04-06 20:11:41 IP : 118.173.27.202


Opinion No. 27 (3209810)
ต้องรอในระดับมหาวิทยาลัยเขาถึงจะสอนให้ เสียดายเพราะอาจารย์ว่ามันช้าไป น่าจะสอนเบื้องต้นเลยตั้งแต่มอปลาย เพราะมันสนุกมากจริง ๆ แปลงอักษรกันมันโลด
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-07 16:18:48 IP : 124.122.153.231


Opinion No. 28 (3209900)

ในซีดีที่เคยเปิดก็เห็นตัวพวกนี้เหมือนกันอ่ะครับ

แต่ไม่รู้หลักการมัน *-*

By บลิว Date 2010-04-08 01:13:46 IP : 118.173.23.193


Opinion No. 29 (3210011)
วันหลังจะสอนให้ เหมือนถอดโค้ด สนุกดี
By อาจารย์ต้น Date 2010-04-08 15:07:00 IP : 124.122.80.85


Opinion No. 30 (3210059)

มันเน่าจะเทียบได้กับ pin yin ของภาษาจีนกลางป่ะครับ

เพราะ pin yin ก็เป็นหลังเทียบเสียงเป็น ตัวอักษรอังกฤษ

แต่อักษรพวกนี้มันเป็นจากตัวอักษรอังกฤษ เป็นอักษร........ (เรียกไม่ถูก ใช่ อัลฟาเบท alphabet ไหมหว่า*-*)

 

By บลิว Date 2010-04-08 20:01:26 IP : 118.173.1.177



[1] 2 Next >>


Opinion
Opinion *
By  *
E-Mail 
Don't Display E-mail



Copyright © 2010 All Rights Reserved.